โทร: 02-042-6324 \ 02-042-6342

ครีมกันแดดที่มี PA4+ ดีอย่างไร วิธีเลือกกันแดดที่ถูกต้อง

โดย: นายแพทย์สิทธิพงศ์ ฬาพานิช (หมอเตี๋ยว หมอกวยเตี๋ยว )

หลายครั้งที่เราไปเคาร์เตอร์เครื่องสำอาง หรือเลือกเครื่องสำอางประเภท ครีมกันแดด แล้วเราก็ไม่เข้าใจว่า เราเหมาะกับกันแดดแบบไหน ตัวเลขบนกันแดดทั้ง SPF คืออะไร PA คืออะไร ทำไมค่า SPF สูงๆ มันไม่ได้ดีเสมอไป หรือ กันน้ำ นี่คือแบบไหน ส่วนประกอบแบบนี้ดีไหม ทั้งแบบ Physical Chemical  นอกจากนี้ยังมีอาหารบางชนิดที่เรามองข้ามไปแต่กลับพบว่า อาหารพวกนี้สามารถช่วยเราสู้กับแสงแดดได้ มาเรียนรู้กันครับ


Q : UVA UVB  คืออะไร สำคัญไฉน

A : ปัจจุบัน FDA USA หรือ อย อเมริกา ยังยืนยัน ประโยคที่ว่า “ไม่มีอาหาร หรืออาหารเสริมใดๆ สามารถช่วยป้องกันแสงแดดได้” ครับ แต่มีอาหารที่ทานแล้วสามารถช่วยซ่อมแวมผิวที่ถูกแสงแดดทำลายได้นะครับ โดยรายงานทางการแพทย์ ของ Joseph S. Takahashi จากมหาวิทยาลัยเทกซัส ได้พบว่ามีอาหารที่เหมือนนาฬิกาหยุดเวลาที่คอยซ่อมแซมปกป้อง ผิวที่เสียหายจากแสงแดด ได้แก่ บลูเบอรี่ แตงโม แครอท ชาเขียว และกล่ำปลี ดังนั้นถ้าเรามีโอกาส ควรหาอาหารจำพวกนี้ทานในแต่ละวันนะครับ ยิ่งประเทศเขตร้อนแดดจัดขนาดประเทศเรานี่ต้องทานเลยครับ


Q : มีอาหารเสริม หรือ อาหารประเภท ป้องกันแสงแดด หรือไม่?

A : ปัจจุบัน FDA USA หรือ อย อเมริกา ยังยืนยัน ประโยคที่ว่า “ไม่มีอาหาร หรืออาหารเสริมใดๆ สามารถช่วยป้องกันแสงแดดได้” ครับ แต่มีอาหารที่ทานแล้วสามารถช่วยซ่อมแวมผิวที่ถูกแสงแดดทำลายได้นะครับ โดยรายงานทางการแพทย์ ของ Joseph S. Takahashi จากมหาวิทยาลัยเทกซัส ได้พบว่ามีอาหารที่เหมือนนาฬิกาหยุดเวลาที่คอยซ่อมแซมปกป้อง ผิวที่เสียหายจากแสงแดด ได้แก่ บลูเบอรี่ แตงโม แครอท ชาเขียว และกล่ำปลี ดังนั้นถ้าเรามีโอกาส ควรหาอาหารจำพวกนี้ทานในแต่ละวันนะครับ ยิ่งประเทศเขตร้อนแดดจัดขนาดประเทศเรานี่ต้องทานเลยครับ


Q : UVA UVB  คืออะไร สำคัญไฉน

A : รังสีจากดวงอาทิตย์ นั้นมีมากมายหลายแบบ แต่ส่วนที่เราควรรู้จักคือ UVA UVB UVC
 โดย UVA มีความยาวคลื่นยาว (320-400) มีความทะลุทะลวงสูงทั้งสู่ผิวและสิ่งแวดล้อม มีส่วนในการเกิด กระฝ้า ริ้วรอย มีผลทันที มีในอากาศถึงกว่า 75 % จำง่ายๆคือ uvA “A” มาจาก Age and Allergy

UVB เป็นรังสี คลื่นสั้น ผ่านแค่บริเวณผิวชั้นบน ส่วนหนังกำพร้าและหนังแท้บางส่วน มีผลต่อผิวคือ แสบ แดง หมองคล้ำ มีในอากาศเพียง 25% แต่มักส่งผลระยะยาว

UVC เป็นรังสีที่ถี่ต่ำมาก ไม่สามารถทะลุทะลวงผิวบรรยากาศของโลกในปัจจุบัน จึงไม่ค่อยมีใครพูดถึงหรือสนใจรังสีในส่วนนี้นัก


Q : SPF คืออะไร ทำไมกฎหมายกำหนดให้เขียนว่า ไม่เกิน 50 ทั้งๆที่บางชนิดกันได้ถึง 120 แต่ก็ต้องเขียนว่า 50 เท่านั้น

A : SPF ย่อมาจาก Sun Protection Factor คือค่าป้องกันแสงแดด UVB นั่นเอง โดยค่านี้คือผลคูณ เช่น SPF 30 คือกันแดดได้ 30 เท่าของค่าปกติของแต่ละผิวสี โดยคนผิวขาวจะมีค่ากันแดดปกติที่ 10-20 นาที คนเอเชียผิวเหลืองจะกันแดดได้ที่ 15-30 นาที ดังนั้นถ้าคนขาวใช้กันแดด spf 30 ก็จะกันแดดได้ประมาณ 300-600 นาที ถ้าคนเอเชียก็จะทนแดดได้ 450-900 นาทีนั่นเอง

แต่ค่านี้ไม่ได้ตรงไปตรงมานะครับ เพราะเรามีปัจจัยภายนอก เช่น เหงื่อ ลม เสื้อผ้า ที่จะทำให้ค่ากันแดดลดลงไป ไม่ตรงตามที่คำนวณครับ

ในส่วนของกฎหมาย เรายึดตาม FDA USA ที่ว่าให้เขียน SPF ไม่เกิน 50 เพราะกันแดดที่ SPF 50 กับ 100 ค่ากันแดดต่างแค่เวลา แต่ประสิทธิภาพแทบไม่ต่าง ถ้าจำไม่ผิด กันแดด spf 30 กันแดดได้ 97% (คือกันแดดได้ 97% จากแดด100% ในเวลา 30 เท่าของค่าผิวปกติที่จะทนแดดได้) ส่วน spf 50 กันแดดได้ 98% ซึ่งไม่ได้ต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญอะไรครับ แค่ 1% เท่านั้นครับ ดังนั้น 100 ก็ไม่ได้กันไรเพิ่มนอกจากเวลาที่เพิ่มครับ


Q : PA + คืออะไร แต่ละบวกที่เพิ่มมีค่าอะไรที่ต่างกันบ้าง

A : PA ย่อมาจาก Protection Grade of UVA  ตัว PA ใช้บอกค่าที่ป้องกัน UVA  เจ้าตัว PA “ไม่มี”หน่วยมาตรฐานในการดูดซับแบบ SPF จึงใช้เป็นค่าระดับแทน ดังนี้
PA + คือ 1+ จะปกป้อง ค่ารังสี UVA ได้ 2 เท่า PPD 2-4 เท่า
PA++ คือ 2+ จะปกป้อง ค่ารังสี UVA ได้ 4 เท่า PPD 4-8 เท่า
PA +++ คือ 3+ จะปกป้อง ค่ารังสี UVA ได้ 8 เท่า PPD 8-16 เท่า
PA++++ คือ 4+ จะปกป้อง ค่ารังสี UVA ได้ 16 เท่า PPD >16 เท่า  **ป้องกัน Long UVA ได้**

ดังนั้นจะเห็นว่า ค่า + ยิ่งเยอะแบบ 4+ คือดีที่สุดครับ สมัยก่อนเรามักจะบอกว่า 2+ ก็พอ ส่วน 3+ไว้ออกทะเลแสงแดดนานๆ แต่ปัจจุบันผมว่าไม่ใช่แล้วครับ เพราะอากาศโลกที่วิปริตแบบปัจจุบัน เป็นผมซึ่งไม่ออกแดดผมก็ใช้ 4+ ครับผม

***Long UVA คือคลื่นรังสีที่ทะลุทะลวงผิวหนังชั้นลึกๆได้ ทำให้ผิวสูญเสียลักษณะเดิมไปไม่ว่าจะเป็นคอลลาเจน อิลาสตินและความยืดหยุ่น ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของ “ริ้วรอย” นั่นเอง***
*PPD คือ Persistent pigment Darkening ค่าในการป้องกัน UVA


Q : ทำไมชอบโฆษณาว่า SPF ของเรานี่สูงหลัก 100 เลยนะ แต่ไม่ค่อยพูดถึง PA กันเลย

A : จริงๆคำตอบง่ายมากนะครับ เพราะต้นทุนครับ การใช้ส่วนผสมที่เพิ่มค่า SPF สูงๆนั้น ต้นทุนที่เพิ่มไม่ได้มากครับ แต่การใส่ส่วนผสมเพิ่มค่า PA ให้สูงๆนี่แพงมากๆๆๆๆ เลยนะครับ เขาถึงไม่ค่อยโฆษณาเน้น PA ที่สูง บอกแค่ค่าตัวเลขหรือค่าอื่นๆเท่านั้นเอง ความเห็นส่วนตัวของผมที่ไม่อยากบอกเลย คือ ผมใช้แค่ PA4+ ครับ ต่ำกว่านั้นผมไม่ใช้ครับ (พูดแบบนี้กลัว PA1-3+ ขายไม่ออกเลยจริงๆ)


Q : แล้วต้องดูอะไรอีกบ้างในสลากครีมกันแดด

A : จริงๆมีหลายส่วนที่ผมให้ความสำคัญ นอกจากค่า PA ที่ส่วนตัวผมคิดว่าสำคัญที่สุดนะครับ คือ ส่วนประกอบครับ เพราะหลายๆส่วนประกอบโดยเฉพาะ Chemical บางชนิดมักทำให้เกิดสิว หรือแพ้ได้ง่าย (คือ เคมิคอล จะเป็นสารดูดซับรังสี ส่วน Physical จะเป็นส่วนที่สะท้อนรังสี แต่เจ้าฟิสิคัลนี่เวลาใช้มักทำให้หน้าขาววอกและดูลอยๆไม่สวยงามต้องทาแป้งทับ )  แต่การจะมาจำและนั่งอ่านส่วนประกอบ ผมว่าเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วไป ดังนั้น ครีมกันแดดหลายชนิดจะเขียนมาเลยครับว่า For Sensitive Skin หรือบางครั้งก็เขียนมาเลยครับว่า Fragrance Free  หรือบางยี่ห้อก็เจาะจงไปเลย โดยเฉพาะเจ้า PABA Free (คนชอบแพ้ตัวนี้)


Q : ส่วนประกอบเยอะแยะ ถ้าเขาไม่เขียนว่า For sensitive skin ควรดูอะไร

A : จริงๆส่วนประกอบนึงที่มาแรงและควรจำคือ Tinosorb ครับ เป็นสารกลุ่มใหม่ที่เข้ามาใช้ในกันแดดไม่นาน มีทั้งคุณสมบัติของ ดูดและสะท้อนรังสีในตัวเดียวกันเลย และเป็นตัวที่แพ้ได้น้อยเพราะดูดซึมทางผิวได้น้อยครับ


Q : ครีมกันแดดกันน้ำล่ะดูยังไง

A : จริงๆตามหลักการแล้วมันไม่มีครีมกันแดดที่กันน้ำได้ในโลกหรอกครับ เพราะมันแค่ช่วยป้องกันขณะเล่นน้ำ “ที่จำนวนน้ำระดับนึง ในระยะเวลาสั้นๆเท่นนั้นเองครับ” แต่ถ้าตามตำราที่เขาเคลมกันคือ waterproof ป้องกันน้ำได้ 80 นาที water resistant ป้องกันน้ำได้ 40 นาที แต่อย่างว่าล่ะครับ “มันเป็นแค่หลักการ ใช้กันจริงๆ มันก็ไม่ได้ตามนั้นหรอกครับ”


Q : เเล้วจะเลือกรักษาที่ไหนดี เลือกยังไง ?

A : จริงๆเเล้วการเลือกนั้นไม่จำเป็นต้องมีเครื่องเลเซอร์ที่ดีมากระดับอย อเมริกาก็ได้นะครับ (แต่ถ้าผ่าน อย อเมริกา ผมว่าจะยิ่งดี 55 ) เพราะอาจารย์ผมบางท่านท่านรักษาฝ้าใช้วิธี เเค่ Soft Pelling ด้วย chemical peeling ตระกูล jessner , Modified Jessner , Blue peeling etc. ก็สามารถทำได้ดีครับ เเต่เเพทย์ต้องชำนาญจริงๆเท่านั้นเพราะ การใช้สารเคมีเเบบนี้ไหม้เอาง่ายๆครับ

ดังนั้นหลักการสำคัญก็เหมือนเคย ควรเลือกเเพทย์ที่ดี ที่น่าเชื่อถือ มีวุฒิ ไม่เอาเเต่ชักเเม่น้ำขายของ เพราะผมว่าจะหาได้ยากนะครับที่คุณจะเดินเข้าคลินิกเขา เเล้วเขาบอกว่าทำไม่ได้ หรือเครื่องมือที่เขามีไม่เหมาะกับคุณ

ดังนั้นถ้าเเพทย์ที่ดี ที่น่าเชื่อถือเขาสามารถบอกความจริงเเก่คุณได้ว่าเครื่องมือที่เขามีสามารถรักษาคุณได้จริงไหม ได้ระยะเวลาเท่าไหร่  ไม่ใช่เอาเเต่โม้หรือมั่วไปเรื่อยว่าทำได้ อยูได้เป็นปีอะไรประมาณนี้ เเล้วคุณก็ลองดูเครื่องมือเขาว่าดีจริงไหมเพราะพวกนี้มัน search net ได้อยู่เเล้วว่าผ่าน อย อเมริกาจริงไหม เพราะคลินิคที่ใหญ่ บางครั้งก็อาจจะไม่ได้ใช้เครื่องมาตรฐานเสมอไปครับ

สรุปก็คือดูที่เเพทย์ก่อนเลย ถ้าเเพทย์น่าเชื่อถือ เป็นหมอที่เป็นหมอ ไม่ใช่นักธุรกิจในคราบหมอ คุณจงไปหาเขา ต่อให้เขาอยู่ไกลเเค่ไหนคุณก็ควรไปครับ เพราะสิ่งที่คุณได้นอกจากผลการรักษาที่ดี ที่น่าพอใจ เเล้วยังคุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไป เเถมไม่มีผลข้างเคียงให้เสียใจเเบบในข่าวครับผม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ครีมกันแดดที่มี PA4+ ดีอย่างไร วิธีเลือกกันแดดที่ถูกต้อง
Scroll to top

© 2020 by AVELA Clinique. All rights reserved